Warehouse Management System (WMS)

ระบบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการบริหารระบบคลังสินค้าทั่วไป ที่รับสินค้า เก็บสินค้า และกระจายสินค้า ระบบโปรแกรมประกอบด้วย ระบบงานหลัก 3 ระบบ คือ การรับสินค้า (Receiving) การจัดเก็บสินค้า (Storage) การส่งมอบสินค้า (Delivery)

คลังสินค้าจำเป็นต้องใช้ WMS หรือไม่?

“คลังสินค้าทุกคลังไม่จำเป็นต้องใช้ WMS” แต่สิ่งที่แน่นอนคือว่า หากคลังสินค้าใดนำ WMS ไปใช้จะต้องได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์อย่างแน่นอน

ระบบการทำงานหลักของ WMS

กระบวนการรับสินค้า (Receive)

คือการรับเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบ เข้ามายังคลังสินค้า โดยจะทำการติดบาร์โค้ดลงบนสินค้าหรือวัตถุดิบโดยเริ่มจาก

  • การป้อนข้อมูลสินค้าหรือดึงข้อมูลจากระบบตามสินค้าที่ต้องการรับเข้าคลัง
  • พิมพ์บาร์โค้ดสำหรับติดบนสินค้าที่ต้องการรับเข้าคลัง
  • ตรวจสอบจำนวนสินค้าและติดบาร์โค้ดลงบนสินค้า
  • บันทึกข้อมูลสินค้า เข้าระบบจัดการคลังสินค้า เพื่อเตรียมจัดเก็บ

กระบวนการจัดเก็บสินค้า (Storage)

คือกระบวนการจัดเก็บสินค้าวัตถุดิบ หลังจากผ่านกระบวนการรับเข้าสินค้า ตรวจสอบสินค้าและติดบาร์โค้ด เพื่อนำไปจัดเก็บตามตำแหน่งที่ได้ทำการจัดเตรียมไว้

  • เตรียมพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า และทำการติดบาร์โค้ดแทนตำแหน่งที่ต้องการจัดเก็บ
  • เลือกตำแหน่งที่ต้องการจัดเก็บ สินค้าที่ต้องการจัดเก็บ และบันทึกข้อมูลในระบบจัดการคลังสินค้า ซึ่งส่วนมากจะใช้งานผ่านอุปกรณ์ Mobile Computer โดยข้อมูลสินค้า และตำแหน่งในการจัดเก็บจะถูกบันทึกไว้ในระบบเพื่อนำไปใช้สำหรับกระบวนจัดส่งต่อไป

กระบวนการจัดส่งสินค้า (Delivery)

คือกระบวนการในการจัดเตรียมสินค้า เพื่อทำการส่งสินค้าโดยข้อมูลสินค้า และตำแหน่งสินค้าจะถูกแจ้งมาทางระบบ ผู้ทำการเตรียมสินค้าเพียงกระทำการหยิบสินค้าตามที่ระบบแนะนำ

  • ระบบแจ้งเตือนผู้ใช้งาน เตรียมสินค้าตามรายการ
  • ผู้ใช้งานหยิบสินค้าตามที่ระบบนำ โดยการยืนยันรหัสบาร์โค้ดของตำแหน่งจัดเก็บ และบาร์โค้ดของสินค้า
  • ผู้ใช้งานยืนยันการหยิบสินค้าจากระบบ ระบบจะทำการตัดสต็อกสินค้าโดยอัตโนมัติ

กระบวนการจัดส่งสินค้า (Delivery)

คือกระบวนการในการจัดเตรียมสินค้า เพื่อทำการส่งสินค้าโดยข้อมูลสินค้า และตำแหน่งสินค้าจะถูกแจ้งมาทางระบบ ผู้ทำการเตรียมสินค้าเพียงกระทำการหยิบสินค้าตามที่ระบบแนะนำ

  • ระบบแจ้งเตือนผู้ใช้งาน เตรียมสินค้าตามรายการ
  • ผู้ใช้งานหยิบสินค้าตามที่ระบบนำ โดยการยืนยันรหัสบาร์โค้ดของตำแหน่งจัดเก็บ และบาร์โค้ดของสินค้า
  • ผู้ใช้งานยืนยันการหยิบสินค้าจากระบบ ระบบจะทำการตัดสต็อกสินค้าโดยอัตโนมัติ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้งานร่วมกับระบบจัดการคลังสินค้า

CLIENT

สำหรับเข้าไปใช้งานระบบจัดการคลังสินค้า สามารถแยกออกมาได้ดังนี้

  • Computer สำหรับเข้าใช้งานระบบจัดการคลังสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ
  • Mobile Computer สำหรับยันยืนข้อมูลเข้าในระบบ เข้าใช้งานระบบได้เฉพาะส่วนที่ออกแบบไว้ เช่น ตรวจรับสินค้า ตรวจนับสินค้า ยืนยันตำแหน่งจัดเก็บ ยืนยันจัดเก็บสินค้า หรือยืนยันการจัดส่งสินค้า
  • Scanner Barcode สำหรับยันยืนข้อมูลเข้าในระบบ แต่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลเข้าในระบบ
  • Printer Barcode สำหรับพิมพ์บาร์โค้ด หรือข้อมูลสินค้าลงบนตัวสินค้า เพื่อใช้ระบุ ID ของสินค้า

NETWORK

สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ทุกตัวเพื่อส่งข้อมูลไปยัง Server และให้ Server ส่งข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว มายังอุปกรณ์หรือเรียกว่า อุปกรณ์สำหรับรับส่งข้อมูล มี 2 แบบ แบบมีสาย และแบบไร้สาย

  • Cable โดยส่วนมาก การเชื่อมต่อแบบมีสาย ส่วนมากยังใช้การเชื่อมต่อแบบ LAN
  • Wireless โดยส่วนมาก การเชื่อมต่อแบบไร้สาย ใช้งานเชื่อมต่อผ่านระบบ Wi-Fi หรือผ่านสัญญาณโทรศัพท์ในกรณีไม่อยู่ในพื้นเดียวกัน

SERVER

สำหรับใช้ในการติดตั้งโปรแกรมจัดการคลังสินค้า โดยขนาดความเร็ว ความจุ ขึ้นอยู่ปริมาณข้อมูลที่ต้องการใช้งานในระบบจัดการคลังสินค้า