GOWMS

Warehouse Management System (WMS) คือ ระบบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการบริหารระบบคลังสินค้าทั่วไป ที่รับสินค้า เก็บสินค้า และกระจายสินค้า ระบบโปรแกรมประกอบด้วย ระบบงานหลัก 3 ระบบ คือ การรับสินค้า (Receiving) การจัดเก็บสินค้า (Storage) การส่งมอบสินค้า (Delivery)

ระบบงานหลัก

กระบวนการรับสินค้า (Receive)

คือการรับเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบ เข้ามายังคลังสินค้า โดยจะทำการติดบาร์โค้ดลงบนสินค้าหรือวัตถุดิบ โดยเริ่มจาก
  • การป้อนข้อมูลสินค้า หรือดึงข้อมูล จากระบบตามสินค้าที่ต้องการรับเข้าคลัง
  • พิมพ์บาร์โค้ดสำหรับติดบนสินค้า ที่ต้องการรับเข้าคลัง
  • ตรวจสอบจำนวนสินค้า และติดบาร์โค้ดลงบนสินค้า
  • บันทึกข้อมูลสินค้า เข้าระบบจัดการคลังสินค้า เพื่อเตรียมจัดเก็บ

กระบวนการจัดเก็บสินค้า (Storage)

คือกระบวนการจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบ หลังจากผ่านกระบวนการรับเข้าสินค้า การตรวจสอบสินค้า การติดบาร์โค้ด เพื่อนำไปจัดเก็บตามตำแหน่งที่ได้ทำการจัดเตรียมไว้

  • เตรียมพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า และทำการติดบาร์โค้ดแทนตำแหน่งที่ต้องการจัดเก็บ
  • เลือกตำแหน่งที่ต้องการจัดเก็บ และเลือกสินค้าที่ต้องการจัดเก็บ และทำการบันทึกข้อมูลในระบบจัดการคลังสินค้า ซึ่งส่วนมากจะใช้งานอุปกรณ์ Mobile Computer ในการทำงานโดยข้อมูลสินค้า และตำแหน่งในการจัดเก็บจะถูกบันทึกไว้ในระบบ เพื่อนำไปใช้สำหรับกระบวนจัดส่งต่อไป

กระบวนการจัดส่งสินค้า (Delivery) :

 คือกระบวนการในการจัดเตรียมสินค้า เพื่อทำการส่งสินค้าโดยข้อมูลสินค้า และตำแหน่งสินค้าจะถูกแจ้งมาทางระบบ ผู้ทำการเตรียมสินค้าเพียงกระทำการหยิบสินค้าตามที่ระบบแนะนำ

  • ระบบแจ้งเตือนผู้ใช้งาน เตรียมสินค้าตามรายการ
  • ผู้ใช้งานหยิบสินค้าตามที่ระบบนำ โดยการยืนยันรหัสบาร์โค้ดของตำแหน่งจัดเก็บ และบาร์โค้ดของสินค้า
  • ผู้ใช้งานยืนยันการหยิบสินค้าจากระบบ ระบบจะทำการตัดสต็อกสินค้าโดยอัตโนมัติ

ระบบบริหารคลังสินค้า (WMS) ช่วยแก้ปัญหาการหาได้อย่างไร

กระบวนการรับสินค้า (Receiving) :

ระบบ WMS สามารถจองพื้นที่ให้ล่วงหน้าเพื่อช่วยในการวางแผนการใช้พื้นที่ในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะคลังสินค้าบางที่ไม่มีระบบการจัดการที่ดี สุดท้ายไม่สามารถจำได้ว่านำไปเก็บไว้ที่ไหน

กระบวนการจัดเก็บ (Put Away)

ระบบ WMS สามารถแนะนำตำแหน่งที่เหมาะสมในการจัดเก็บ และมีการยืนยันตำแหน่งการจัดเก็บที่ถูกต้อง

  • Manual : โดยผู้ตรวจเซ็นอนุมัติ หลังจากตรวจสอบว่าจัดเก็บในตำแหน่งนั้นจริง
  • Barcode Scanner : โดยการยิง Barcode Scanner ในตำแหน่งที่จัดเก็บจริง

ซึ่งตรงนี้จะช่วยในการ Confirm ตำแหน่งจัดเก็บอย่างถูกต้องซึ่งจะช่วยลดปัญหาการหาของไม่เจอได้

กระบวนการเบิก (Picking) :

ระบบ WMS จะมีระบบในการค้นหาได้อย่างง่ายดาย แค่กรอกเงื่อนไข ระบบก็สามารถค้นหาสินค้าให้เอง ไม่ว่าจะเป็นการเบิกแบบ FIFO, LIFO, FEFO หรือสามารถกำหนดเองได้

คลังสินค้าจำเป็นต้องใช้ WMS หรือไม่?

“คลังสินค้าทุกคลังไม่จำเป็นต้องใช้ WMS” แต่สิ่งที่แน่นอนคือว่า หากคลังสินค้าใดนำ WMS ไปใช้จะต้องได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์อย่างแน่นอน

ประโยชน์ที่ได้รับจาก WMS

  • ลดระยะเวลาในการทำงานในการจัดสรรพื้นที่

  • สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

  • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็วและลดความผิดพลาด

  • มีความถูกต้องแม่นยำในการจัดการกับระบบคลังสินค้า

  • ลดปัญหาสินค้าค้างสต็อก

  • ควบคุมกระบวนการทำงานต่างๆ

  • การปฏิบัติงานประจำวัน (Daily Operation)

  • การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล (Inventory Control and Analysis)

  • งานบัญชีและการเงิน (สำหรับ 3pl)

อุปกรณ์ที่ต้องใช้งานร่วมกับระบบจัดการคลังสินค้า

Server

สำหรับใช้ติดตั้งโปรแกรมจัดการคลังสินค้า ขนาดความเร็ว ความจุ ขึ้นอยู่ปริมาณข้อมูลที่ต้องการใช้งานในระบบจัดการคลังสินค้า

Client

เครื่องสำหรับเข้าไปใช้งานระบบจัดการคลังสินค้า สามารถแยกออกมาได้ดังนี้

  • Computer สำหรับเข้าใช้งานระบบจัดการคลังสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ
  • Mobile Computer สำหรับยันยืนข้อมูลเข้าในระบบ เข้าใช้งานระบบได้เฉพาะส่วนที่ออกแบบไว้ เช่น ตรวจรับสินค้า ตรวจนับสินค้า ยืนยันตำแหน่งจัดเก็บ ยืนยันจัดเก็บสินค้า หรือยืนยันการจัดส่งสินค้า
  • Scanner Barcode สำหรับยันยืนข้อมูลเข้าในระบบ แต่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลเข้าในระบบ
  • Printer Barcode สำหรับพิมพ์บาร์โค้ด หรือข้อมูลสินค้าลงบนตัวสินค้า เพื่อใช้ระบุ ID ของสินค้า

Network

สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ทุกตัวเพื่อส่งข้อมูลไปยัง Server และให้ Server ส่งข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว มายังอุปกรณ์ หรือเรียกว่า อุปกรณ์สำหรับรับส่งข้อมูล มี 2 แบบ แบบมีสาย และแบบไร้สาย

  1. Cable โดยส่วนมาก การเชื่อมต่อแบบมีสาย ส่วนมากยังใช้การเชื่อมต่อแบบ LAN
  2. Wireless โดยส่วนมาก การเชื่อมต่อแบบไร้สาย ใช้งานเชื่อมต่อผ่านระบบ Wi-Fi หรือผ่านสัญญาณโทรศัพท์ในกรณีไม่อยู่ในพื้นเดียวกัน

AEI Solutions

สนใจบริการ

Other Services

  • AGV

    Automated Guided Vehicle (AGV)             Automated Guided Vehicle หรือ AGV คือระบบขับเคลื่อนภายในอาคารโดยไม่ต้องใช้คน ที่ช่วยขนย้ายสินค้า อุปกรณ์ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ รถ AGV ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในคลังสินค้าจนได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะคลังสินค้าเป็นพื้นที่ที่มีความซับซ้อน ในแต่ละวันมีการนำเข้าและขนส่งสินค้าจำนวนมาก อีกทั้งยังมีประเภทของสินค้าที่หลากหลาย การจัดการในเรื่องตำแหน่งในการจัดวาง หรือการติดตามสถานะการขนส่ง ขั้นตอนเหล่านี้ การใช้คนเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เกิดความล่าช้าและโอกาสผิดพลาดสูง   

  • Conveyors

    ระบบลำเลียงสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยใช้สายพานลำเรียง (Conveyors) ระบบลำเลียงสินค้า ก็เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ในรางกายมนุษย์  เพราะถ้าไม่มีเส้นเลือด ร่างกายของเราจะไม่มีการหมุนเวียนเลือด นำเลือดเสียมาฟอกให้กลายเป็นเลือดที่ดีได้ ซึ่งระบบลำเลียงจะต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้น ส่วนอื่นๆ  ก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน ซึ่งการเลือก Conveyors ให้เหมาะสม ช่วยให้สินค้าไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยและสายพานลำเลียงสามารถใช้งานได้ในระยะยาว AGV & RGV Sorter Roller Conveyors Belt Conveyors Chain Conveyors Spiral Conveyors Vertical Elevator

Full list of Solutions